เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
7. มหาวรรค 10. สุสิมปริพพาชกสูตร

ทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต กล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่น
ให้ทำกรรมตามความเห็นผิด พวกเขาหลังจากตายแล้ว จะไปบังเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก แต่หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ไม่กล่าวร้าย
พระอริยะ มีความเห็นชอบ และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ พวกเขา
หลังจากตายแล้ว จะไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ ท่านทั้งหลายเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลัง
จุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์
อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้บ้างหรือ”1
“ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ”
“ท่านทั้งหลายรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมถูกต้องอารุปปวิโมกข์2อันสงบก้าวล่วงรูปทั้งหลาย
เสียได้ด้วยนามกายอยู่บ้างหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ”
“บัดนี้ คำตอบนี้ และการไม่เข้าถึงธรรมเหล่านี้ มีอยู่ในเรื่องนี้ เรื่องนี้เป็น
อย่างไรกันแน่”
“ท่านสุสิมะ พวกผมหลุดพ้นได้ด้วยปัญญา”
“ผมไม่เข้าใจเนื้อความแห่งคำที่ท่านทั้งหลายกล่าวโดยย่อนี้ได้โดยพิสดาร
ขอโอกาส ขอท่านทั้งหลายจงกล่าวเท่าที่ผมจะเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่ท่านทั้งหลาย
กล่าวโดยย่อนี้ได้โดยพิสดารเถิด”


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
7. มหาวรรค 10. สุสิมปริพพาชกสูตร

“ท่านจะเข้าใจหรือไม่ก็ตาม แต่พวกผมก็หลุดพ้นได้ด้วยปัญญา”
ครั้งนั้น ท่านสุสิมะลุกขึ้นจากอาสนะแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลคำที่ตนสนทนากับภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด
แด่พระผู้มีพระภาคแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า “สุสิมะ ธัมมฐิติญาณ1เกิดก่อน นิพพานญาณ2
เกิดภายหลัง”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่เข้าใจเนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระองค์
ตรัสโดยย่อนี้โดยพิสดารได้ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดตรัสโดย
ประการที่ข้าพระองค์จะพึงเข้าใจเนื้อความแห่งพระดำรัส ที่พระองค์ตรัสโดยย่อนี้ได้
โดยพิสดารด้วยเถิด”
“สุสิมะ เธอจะเข้าใจหรือไม่ก็ตาม ความจริงธัมมฐิติญาณเกิดก่อน นิพพาน-
ญาณเกิดภายหลัง เธอจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง”
“ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข”
“เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า”
“สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณา
เห็นสิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”